พระสุนทรโวหาร (ภู่) มีนามเดิมว่า ภู่ เป็นบุตรขุนศรีสังหาร (พลับ) และแม่ช้อย เกิดในรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือนแปด ขึ้นหนึ่งค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาสองโมงเช้า ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๓๒๙ ที่บ้านใกล้กำแพงวังหลัง คลองบางกอกน้อย
บิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นชาวเมืองอื่น สุนทรภู่เกิดเมื่อหลังจากได้สร้างกรุงเทพมหานครแล้ว 4 ปี แล้วต่อมาในภายหลังบิดามารดาได้หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง
บิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นชาวเมืองอื่น สุนทรภู่เกิดเมื่อหลังจากได้สร้างกรุงเทพมหานครแล้ว 4 ปี แล้วต่อมาในภายหลังบิดามารดาได้หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง
เมื่อสุนทรภู่อายุได้ประมาณ 2 ขวบ มารดาได้นำไปฝากให้เรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว
เมื่อโตพอเรียนหนังสือได้ สุนทรภู่ถูกส่งไปยังสำนักวัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดาราม คลองบางกอกน้อยใกล้ๆกับพระราชวังหลัง พอเริ่มเป็นหนุ่มสุนทรภู่ได้ทำงานเป็นเสมียนนาย ระวาง กรมพระคลังสวน มีงานคือ คอยเก็บอากรสวนและวัดระวาง แม้จะได้งานราชการมั่นคงดี แต่สุนทรภู่เบื่อเพราะใจชอบทางหนังสือคือแต่งกลอนมากกว่า เลยลาออกจากกรมพระคลังสวนกลับมาอยู่วังหลังตามเดิมด้วยเป็นข้าวังหลังอยู่แล้ว ที่นี่สุนทรภู่ได้พบรักครั้งแรก หญิงที่สุนทรภู่ติดใจนักหนาชื่อ “ จัน ” เป็นข้าราชบริพารในวังหลังเช่นเดียวกัน ทั้งสองลอบรักใคร่แต่ไปไม่รอดความแตก กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงกริ้วให้ลงอาญาจองจำคนทั้งสองไว้ คนทั้งสองถูกจองจำอยู่ไม่นานนัก ก็ได้รับอิสรภาพ ด้วยเหตุที่กรมพระราชวังหลังทิวงคต แต่สุนทรภู่ก็เจออุปสรรครักอีก เพราะว่าที่พ่อตาไม่ชอบหน้า เนื่องจากมีผู้สูงศักดิ์คนหนึ่งหมายปองนางจันอยู่ก่อน แต่เห็นทีนางจันจะไม่ชอบ กลับมีใจเอนเอียงมาทางสุนทรภู่มากกว่า สุนทรภู่คงถูกบีบจนต้องออกเดินทางอย่างเร่งร้อนไม่ทันได้ร่ำลาคู่รัก มุ่งสู่เมืองแกลงหวังไปบวชและไปหาพ่อ แต่โชคไม่ดีสุนทรภู่เกิดเป็นไข้ป่า อาการหนักเกือบตายต้องรักษาตัวนานเป็นเดือนเลยไม่ได้บวช และสุดท้ายเดินทางกลับกรุงเทพฯ
สุนทรภู่กลับเข้ากรุงและเข้ารับราชการในวังหลังอีกครั้ง และที่สุดก็ได้แต่งงานอยู่กับนางจัน สมปรารถนา เพราะอัครชายาของกรมพระราชวังหลัง ทรงยกนางจันประทานให้ แม้เมื่อสุนทรภู่ได้ลูกชายคนแรก ก็ทรงรับไปเลี้ยงดู แต่ชีวิตคู่ของสุนทรภู่ไม่ราบรื่นเหมือนคนอื่นเพราะสุนทรภู่ดื่มสุราเมามายเป็นอาจิณ นางจันจึงขอแยกทางเดิน สุนทรภู่เร่ร่อนไปถึงเมืองเพชร ไปร่วมงานกับศิลปินละครคณะนายบุญยัง โดยรับหน้าที่เป็นคนบอกบท ละครคณะนายบุญยังนี้ว่ากันว่ามีชื่อเสียงโด่งดังมาก ที่สุดก็เบื่อ สุนทรภู่กลับเข้ากรุงอีก คราวนี้โชคดีมีโอกาสรับราชการในวังหลวง และเพราะเป็นกวีที่เขียนกลอนได้รวดเร็วกับมีปฏิภาณดีเยี่ยม จึงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งกวีที่ปรึกษาของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ ขุนสุนทรโวหาร ”
จากวังหลังมาอยู่วังหลวงชีวิตก้าวหน้าขึ้น แต่สุนทรภู่ยังคงดื่มสุราเมามายอยู่ วันหนึ่งไปหาแม่ขณะเมาสุรา แม่จึงกล่าวตักเตือนแต่สุนทรภู่กลับแสดงอาการก้าวร้าว ญาติผู้ใหญ่เข้าห้ามปราม สุนทรภู่กลับทุบตีทำร้าย จนญาติผู้ใหญ่ท่านนั้นได้รับบาดเจ็บ ความทราบถึงรัชกาลที่ ๒ พระองค์โปรดฯ ให้ลงโทษติดคุก ต่อมา รัชกาลที่ ๒ ทรงติดขัดในพระราชนิพนธ์บทละครหาคนแต่งต่อให้ถูกพระราชหฤทัยไม่ได้ จึงให้เบิกตัวสุนทรภู่มาแต่งต่อให้ สุนทรภู่จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษตั้งแต่นั้น เชื่อกันว่าเพชรแห่งวรรณคดีไทย คือนิทานคำกลอนเรื่อง “ พระอภัยมณี ” สุนทรภู่เริ่มแต่งตอนติดคุกอยู่นี้เอง เมื่อพ้นโทษออกมา สุนทรภู่จึงประพฤติตัวดีขึ้น นอกจากจะรับราชการเป็นกวีที่ปรึกษาแล้ว ยังมีหน้าที่สอนหนังสือเจ้าฟ้าอีก ๒ พระองค์ด้วย หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคต กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสวยราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ สุนทรภู่อยู่ไม่ได้เพราะรู้เต็มอกว่าพระองค์ท่านไม่โปรด จึงไปบวชอาศัยพระศาสนาคุ้มภัย เมื่อขาดราชการหนีหายไปเฉยๆสุนทรภู่เลยถูกปลดจากราชการ ถูกถอดยศถาบรรดาศักดิ์กลายเป็น “ นายภู่ ” ราษฎรเต็มขั้น คนที่รู้จักมักคุ้นจึงเอาบรรดาศักดิ์ “ ขุนสุนทรโวหาร ” ผนวกเข้ากับชื่อตัว คือ “ ภู่ ” เรียกขานว่า “ สุนทรภู่ ” มาจนบัดนี้
หลังจากตกทุกข์ได้ยากมานาน สุนทรภู่ได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้านาย คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์พระองค์หนึ่ง และกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกพระองค์หนึ่ง ชีวิตจึงค่อย กระเตื้องขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชสมบัติ ดวงของสุนทรภู่รุ่งโรจน์มาอีกครั้งหนึ่ง เพราะเจ้านายที่ทรงอุปการะสุนทรภู่ คือ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกษัตริย์พระองค์ที่ ๒ สุนทรภู่กลายเป็น “ พระสุนทร-โวหาร ” เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ในบั้นปลายแห่งชีวิตนี้เอง สุนทรภู่มีชีวิตอันเปี่ยมด้วยลาภ ยศ อีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ ๖๖ ปี ครั้น พ.ศ. ๒๓๙๘ สุนทรภู่ก็ถึงแก่กรรม รวมอายุได้ ๗๐ ปี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น